camera_altFOTO: Hakan Nural/Unsplash
วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (Covid-19) เป็นวัคซีนที่ปลอดภัย
โครงการโรคเอดส์แห่งสหประชาชาติ (Joint United Nations Programme on HIV/AIDS) หรือ UNAIDS ชี้แจงว่าวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (Covid-19) เป็นวัคซีนที่ปลอดภัยต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HiV) ซึ่งคำชี้แจงดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากแผนกโรคติดเชื้อในประเทศนอร์เวย์ และมีความปรารถนาที่จะเชิญชวนผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HiV) ทุกท่านให้เข้ารับการฉีดวัคซีน
scheduleOppdatert: 06.01.2022
createForfatter: Sekretariatet
labelEmner: hiv og covid-19Trygg covid-19-vaksine
ข้อมูลจากโครงการโรคเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) ระบุว่า วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (Covid-19) เป็นวัคซีนที่ปลอดภัยต่อคนส่วนใหญ่ รวมไปถึงผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HiV) ทุกท่านด้วยเช่นกัน ทั้งนี้เนื่องจากว่า วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสดังกล่าวมีส่วนผสมของสารพันธุกรรม จากเชื้อไวรัสซาร์ส-โควี-๒ (SARS-CoV-2) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (Covid-19) ดังนั้นเมื่อฉีดวัคซีนเข้าไปในร่างกาย สารพันธุกรรมจะทำการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันโรคต่อเชื้อไวรัส
อีกทั้งในปัจจุบันยังไม่อนุญาตให้ใช้เชื้อไวรัสซึ่งยังมีชีวิต ในวัคซีนทั้งที่ได้รับการรับรองแล้ว หรือวัคซีนที่กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนา ดังนั้นมันจึงเป็นการปลอดภัยสำหรับผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันโรคที่อ่อนแอ นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมมันจึงปลอดภัยต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HiV) ซึ่งเป็นผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันโรคที่บกพร่องอย่างมาก
ผลข้างเคียง/อาการอันไม่พึงประสงค์
หลังจากได้รับวัคซีนแล้ว บางท่านอาจสัมผัสได้ถึงผลข้างเคียง/อาการอันไม่พึงประสงค์จากการฉีดวัคซีน ซึ่งเป็นเรื่องปกติจากการรับวัคซีน
อาการอันไม่พึงประสงค์/ผลข้างเคียง ดังกล่าวมีตั้งแต่ อาการบวมระบมบริเวณต้นแขน ปวดศรีษะ หรือมีไข้ต่ำ ๆ
ผู้รับวัคซีนบางรายอาจประสบกับภาวะอาการแพ้อย่างรุนแรง ดังนั้น หลังจากที่ท่านได้รับวัคซีนแล้ว จึงควรรอประมาณ ๑๕-๓๐ นาที เพื่อเฝ้าสังเกตอาการ ภายใต้การดูแลจากเจ้าหน้าที่ทางด้านการแพทย์ ทั้งนี้หมายรวมไปถึงการรับวัคซีนทุกประเภท มิได้เจาะจงเฉพาะว่า เป็นวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (Covid-19) เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
อย่างไรก็ดี ผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HiV) มิได้มีความเสี่ยงสูงกว่าผู้อื่น ในการที่จะได้รับผลข้างเคียง/อาการอันไม่พึงประสงค์จากการรับวัคซีน
ผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HiV) สมควรจะได้รับการฉีดวัคซีนหรือไม่?
ผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HiV) จะได้รับประโยชน์ในการรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (Covid-19) เฉกเช่นเดียวกับผู้ที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวี (HiV) วัคซีนดังกล่าวจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะรุนแรงจากการเจ็บป่วยหากติดเชื้อไวรัสโคโรนา อีกทั้งยังสามารถช่วยลด/ป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสได้อีกด้วย
ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมายังคงมีความไม่แน่นอนในการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสอยู่บ้าง ดังนั้นจึงขอแนะนำให้ทุกท่านปฏิบัติตนตามมาตรการป้องกันการติดเชื้อไวรัส ซึ่งทุกท่านต่างก็คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี อาทิเช่น แนวทางการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล โดยการล้างมือ การรักษาระยะห่างทางสังคม การสวมหน้ากากอนามัยปิดปาก และการกักเก็บตัวอยู่บ้านหากรู้สึกไม่สบาย
ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันโรคต่ำ และมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคติดเชื้อประเภทอื่นๆ
แนวทางการรักษาโรคติดเชื้อเอชไอวี (HiV) ในประเทศนอร์เวย์ที่ปฏิบัติกันอยู่ในปัจจุบัน จะช่วยให้ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี (HiV) และผู้ที่กำลังอยู่ในระหว่างการรักษาโรคติดเชื้อ มีระบบภูมิคุ้มกันโรคของร่างกายที่ดีขึ้น และมีปริมาณเชื้อไวรัสเอชไอวี (HiV) ในเลือดอยู่ในปริมาณที่ต่ำมากจนแทบไม่สามารถตรวจพบเชื้อจากค่าที่วัดได้เมื่อทำการตรวจเจาะเลือด
ข้อมูลจากคลินิกผู้ป่วยนอกโรคติดเชื้อ อุลเล่อโวล แห่งโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยออสโล (Oslo universitetssykehus Ullevål) ระบุว่า เฉพาะผู้ที่มีระบบภูมิต้านทานต่ำ คือ มีค่าเม็ดเลือดขาว ซีดีโฟร์ (CD4 = Cluster of Differentiation 4) เหลือน้อยกว่า ๓๕๐ เซลล์ต่อลบ.มม. และมีค่าเชื้อไวรัสในเลือดที่สามารถตรวจวัดได้ อีกทั้งมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคติดเชื้อประเภทอื่นๆ เท่านั้น ที่มีความเสี่ยงในการป่วยหนักหากเป็นโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (Covid-19)
ผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HiV) และผู้ที่ประสบความสำเร็จหลังจากเข้ารับการรักษา จะไม่มีความเสี่ยงต่อภาวะความรุนแรงในการเป็นโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (Covid-19) วัคซีนโคเมอร์เนตี (Comirnaty) จาก ไฟเซอร์ (Pfizer) และ โอไบโอเอ็นเทค (BioNTech) รวมถึงวัคซีนโมเดอร์นา (Moderna) และ วัคซีนแยนส์เซน (Janssen) เป็นวัคซีนที่พัฒนาโดยบริษัทผู้ผลิตเภสัชภัณฑ์ จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (Johnson & Johnson) ซึ่งเป็นวัคซีนที่ปลอดภัยต่อผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันต่ำ
การประเมินจากแพทย์ประจำตัว
คลินิกผู้ป่วยนอกโรคติดเชื้อ อุลเล่อโวล แห่งโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยออสโล (Oslo universitetssykehus Ullevål) เน้นย้ำว่า การฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (Covid-19) ให้กับผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี (HiV) เป็นภาระความรับผิดชอบที่อยู่ภายใต้การดูแลของทางสำนักงานเทศบาล มิใช่หน้าที่ความรับผิดชอบของทางคลินิกผู้ป่วยนอกโรคติดเชื้อแต่อย่างไร
ทั้งนี้แพทย์ประจำตัวจะเป็นผู้ทำการส่งรายชื่อผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงเพื่อเข้ารับการการฉีดวัคซีน ดังนั้นแพทย์ประจำตัวจึงควรมีความรู้ความเข้าใจในการวินิจฉัยโรคติดเชื้อเอชไอวี (HiV)
แพทย์ประจำตัว จะได้รับสำเนาข้อมูลบันทึกทางการแพทย์ ซึ่งแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับค่าของเม็ดเลือดขาว ซีดีโฟร์ (CD4) และปริมาณไวรัสในกระแสเลือดของผู้ป่วยติดเชื้ออยู่เป็นประจำ
Les også
schedule13.01.2023
→ คุณคือผู้ที่เพิ่งย้ายมาอยู่ใหม่ในนอร์เวย์และต้องการยารักษาเอชไอวีหรือไม่?
ทุกคนที่อาศัยอยู่ในนอร์เวย์และติดเชื้อเอชไอวีมีสิทธิที่จะรักษาเอชไอวีได้ฟรี รับการรักษาฟรีได้จากแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้านที่มีแผนกโรคติดเชื้อ
schedule06.01.2022
→ วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (Covid-19) เป็นวัคซีนที่ปลอดภัย
โครงการโรคเอดส์แห่งสหประชาชาติ (Joint United Nations Programme on HIV/AIDS) หรือ UNAIDS ชี้แจงว่าวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (Covid-19) เป็นวัคซีนที่ปลอดภัยต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HiV) ซึ่งคำชี้แจงดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากแผนกโรคติดเชื้อในประเทศนอร์เวย์ และมีความปรารถนาที่จะเชิญชวนผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HiV) ทุกท่านให้เข้ารับการฉีดวัคซีน