ไวรัสโคโรนา (Koronavirus) และ โรคติดเชื้อเอชไอวี (HIV)

แผนกที่เป็นผู้รับผิดชอบการรักษาโรคติดเชื้อเอชไอวี (HIV) และ โรคติดเชื้อโคโรนา (Korona) ตามโรงพยาบาลส่วนใหญ่มักเป็นแผนกเดียวกัน ดังนั้นแผนกดังกล่าวในโรงพยาบาลหลายแห่งจึงมีงานค่อนข้างยุ่ง แต่กระนั้น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ทุกท่านสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างมั่นใจว่า พวกท่านจะได้รับการดูแลเอาใจใส่ที่จำเป็น ไม่ว่าจะเป็นการต่ออายุใบสั่งยา หรือการอื่นใดก็ตาม

scheduleOppdatert: 15.12.2022

createForfatter: Sekretariatet

labelEmner:

คลินิกผู้ป่วยนอกโรคติดเชื้อ โรงพยาบาลอุลเล่อโวล (Ullevål) มหาวิทยาลัยแห่งกรุงออสโล (Oslo universitetssykehus)  ได้จัดทำแนวทางในการดําเนินงานว่าด้วยการติดตามดูแลผู้ป่วยซึ่งเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ของทางคลินิก โดยทาง HivNorge มีการติดต่อประสานงานกับคลินิกผู้ป่วยนอกอย่างสม่ำเสมอ และได้ทำการเผยแพร่ข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางในการดําเนินงานที่เกี่ยวข้องไว้บนเว็บไซต์ของเรา

ผู้ที่พึ่งได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อเอชไอวี (HIV)  และกำลังรอผลตรวจจากโรงพยาบาลอุลเล่อโวล (Ullevål) โดยทั่วไปแล้วจะได้รับการติดตามดูแลรักษาทันทีหลังจากที่ทราบผลตรวจ

คนส่วนใหญ่ที่เป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HIV)  และได้รับการรักษาโดยทานยาต้านไวรัสตามใบสั่งแพทย์อย่างสม่ำเสมอ และไม่มีอาการป่วยหรือโรคร้ายแรงชนิดอื่นแทรกซ้อนเพิ่มเติม มักจะเป็นผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรงเพียงพอ หากว่าได้รับเชื้อ โควิด-๑๙ (Covid-๑๙)

มีผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) เพียงส่วนน้อยที่มีค่า CD๔ ต่ำอย่างถาวร และอาจมีการลดลงของระบบภูมิคุ้มกันจนทำให้ในบางครั้งพวกเขารู้สึกว่าตนมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจมากขึ้น ทาง HivNorge ได้รับการสอบถามเข้ามาเป็นจำนวนมากเกี่ยวกับข้อสงสัยที่ว่า ผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ถือว่าเป็นหนึ่งในกลุ่มเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสโคโรนาหรือป่วยหนักหรือไม่นั้น เราได้รับคำชี้แจงจากหัวหน้าแผนกโรคติดเชื้อ อุลเล่อโวล (Ullevål) ดังนี้: 

จากข้อมูลวันที่๑๗มีนาคม.. ๒๕๖๓ยังไม่มีการระบุแน่ชัดว่าเชื้อเอชไอวี (HIV) เป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้ป่วยหนักด้วยโรคโควิด๑๙ (Covid-๑๙) แต่อย่างใด

ทั้งนี้เมื่อวันที่๒๓มีนาคมที่ผ่านมาคณะกรรมการงานบริการด้านสาธารณสุข (Helsedirektoratet) ได้ประกาศปรับปรุงและให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโคโรนาว่ารวมไปถึงกลุ่มบุคคลที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องทั้งนี้เป็นการรวมเอาคนส่วนใหญ่ทั้งที่เป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) และมีค่า CDต่ำถาวรเข้าไปด้วย

บุคคลที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่ถูกกล่าวถึง ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ที่มีโรคร้ายแรงเรื้อรังประจำตัว เช่น โรคหัวใจและโรคระบบหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคปอดเรื้อรัง โรงมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน และกลุ่มผู้ที่สูบบุหรี่ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อโคโรนา

หากท่านเป็นผู้หนึ่งที่มีค่า CD๔ ต่ำ และป่วยด้วยโรคร้ายแรงชนิดอื่น มันสำคัญอย่างยิ่งที่ท่านจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำจากหน่วยงานของรัฐอย่างเคร่งครัดเป็นพิเศษ

นอกจากนี้ขอแนะนำให้ท่านกักเก็บตัวอยู่กับบ้านซึ่งมีสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย และหลีกเลี่ยงการใช้เวลานอกบ้านที่ไม่จำเป็น อาทิเช่น การรวมกลุ่มชุมนุม และการออกไปพบปะผู้คน 

ณ ปัจจุบันยังมีปัจจัยอีกหลายอย่างที่ไม่แน่นอน ทางสถาบันสาธารณสุข (Folkehelseinstituttet) จึงได้จัดทำ หน้าเว็ปไซด์ของตนเองเพื่อปรับปรุงข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มที่มีความเสี่ยงเป็นพิเศษให้มีความทันสมัยอยู่ตลอดเวลา 

ทั้งนี้เมื่อวันศุกร์ที่ ๓ เมษายนที่ผ่านมา ทางสมาคมเอดส์สากล (International AIDS Society หรือ IAS) 

ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสัมมนาผ่านระบบเว็บไซต์ โดยในโอกาสนี้ทางองค์การอนามัยโลก (World Health Organization World Health Organization หรือ WHO) ได้ร่วมแบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับโรคติดเชื้อเอชไอวี (HIV) และโรคติดเชื้อโคโรนา (Corona)

จนถึงขณะนี้มีจำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) เพียงไม่กี่ราย (จากทั่วโลก) ที่ป่วยเป็นโรคโควิด-๑๙ (Covid-๑๙) ด้วยเหตุนี้ จึงยังไม่มีการทำงานวิจัยเฉพาะเกี่ยวกับการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ร่วมกับการติดเชื้อโควิด-๑๙ (Covid-๑๙) แต่จากประสบการณ์ที่ผ่านมามีข้อบ่งชี้ว่า:

  • เชื้อเอชไอวี (HIV) ไม่ได้เป็นปัจจัยเสี่ยงโดยตรงต่ออัตราการเสียชีวิตที่สูงขึ้น หรือนำไปสู่การติดเชื้อโรคร้ายแรงอย่างโควิด-๑๙ (Covid-๑๙) ทั้งนี้ไม่ว่าค่า CD๔ จะอยู่ในระดับใด
  • ถึงแม้ว่าเชื้อเอชไอวี (HIV) จะไม่ได้เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในการเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงอย่างโควิด๑๙ (Covid-๑๙) แต่ก็มีคนบางส่วนที่ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) มาเป็นระยะเวลานานและต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงอื่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้รอดชีวิตจากโรคเอดส์และผู้ที่เคยเป็นโรคซึ่งเกี่ยวกับเอดส์เช่นโรคปอดบวมหรือโรคปอดชนิดอื่น 

ประสบการณ์ที่ทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้นำเสนอในการสัมมนานั้นสอดคล้องกับคำแนะนำจากหน่วยงานด้านสุขภาพของนอร์เวย์ที่ได้ให้ไว้ ท่านสามารถติดตามรายละเอียดทั้งหมดในการสัมมนาได้ที่นี่ ทั้งนี้การสัมมนามีเนื้อหาในการบรรยายเป็นภาษาอังกฤษ 

ท่านไม่จำเป็นต้องแจ้งให้นายจ้างหรือบุคคลอื่นทราบเกี่ยวกับสถานะการติดเชื้อเอชไอวี (HiV) ของท่านหากในเบื้องต้นท่านสงสัยว่าจะติดเชื้อ และไม่มีความประสงค์จะให้ข้อมูลดังกล่าว

ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับคำแนะนำทั่วไปสำหรับประชาชนจากสถาบันสาธารณสุข (Folkehelseinstituttet) และติดตามข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศนอร์เวย์ได้ที่นี่

หากท่านรู้สึกตัวว่ามีไข้ หรือมีอาการผิดปกติในระบบทางเดินทายใจ ท่านควรรีบติดต่อแพทย์ประจำตัวเพื่อเข้ารับการตรวจหาการติดเชื้อ สิ่งสำคัญที่พึงระวัง คือ ท่านไม่ควรเข้าพบแพทย์โดยปราศจากการนัดหมายล่วงหน้า ทั้งนี้เพื่อดำรงไว้ซึ่งมาตรการป้องกันการติดเชื้อ ท่านสามารถติดต่อแพทย์ฉุกเฉินนอกเวลาทำการได้ในช่วงเย็นและระหว่างวันหยุดสุดสัปดาห์

การรักษาไวรัสโคโรน่าด้วยยาต้านเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV)

ขณะนี้ได้มีการพยายามทดลองรักษาโรคโควิด-๑๙ (Covid-๑๙) ด้วยยาต้านเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) ซึ่งยาต้านเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) ที่ใช้ในการทดลองดังกล่าวนั้น ไม่ได้เป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ในปัจจุบันแต่อย่างใด ทั้งนี้ทางหน่วยงานสาธารณสุขได้ให้คำรับรองว่า จะไม่ส่งผลกระทบต่อปริมาณยาผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) พึงได้รับเพื่อใช้ในการรักษา

นอกจากนี้ยังไม่มีข้อมูลใดที่ชี้ชัดว่าผู้ที่ติดเชื้อ เอชไอวี (HIV) จะไม่สามารถติดเชื้อ โควิด-๑๙ (Covid-๑๙) ได้หรือจะไม่เป็นพาหะของเชื้อไวรัสเนื่องจากการใช้ยาที่พวกเขาได้รับเพื่อการรักษาโรค

วัคซีนนิวโมคอกคัส (วัคซีนป้องกันปอดอักเสบ)

มีการให้ความสนใจกับวัคซีนนิวโมคอกคัส (วัคซีนป้องกันปอดอักเสบ) ซึ่งทำหน้าที่ป้องกันโรคปอดอักเสบ (ปอดบวม) ที่มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียสายพันธุ์นิวโมคอกคัส วัคซีนดังกล่าวไม่ได้มีความสัมพันธ์ใดเกี่ยวข้องกับเชื้อไวรัสโคโรนา (Korona) แต่กลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้รับการสนับสนุนให้เข้ารับวัคซีนดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระงานทางด้านพยาบาลให้กับหน่วยงานสาธารณสุขในขณะนี้

ผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ทุกท่านที่ได้เข้ารับการตรวจรักษาครั้งแรกยังแผนกโรคติดเชื้อ จะได้รับข้อเสนอเกี่ยวกับการรับวัคซีนนิวโมคอกคัส (วัคซีนป้องกันปอดอักเสบ) ดังกล่าว นั่นก็หมายความว่าทุกท่านได้รับข้อเสนอโดยทั่วหน้ากัน แต่เนื่องจากขณะนี้อยู่ในช่วงขาดแคลนวัคซีน ดังนั้นจึงเสนอการฉีดวัคซีนให้เฉพาะผู้ที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน และผู้ที่อยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่จะป่วยด้วยโรคร้ายแรงเช่น โรคปอดอักเสบ

แผนกโรคติดเชื้อ คลินิกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลอุลเล่อโวล (Ullevål) ได้เสนอให้วัคซีนดังกล่าวกับผู้ป่วยทุกรายที่อายุมากกว่า ๖๕ ปี หากว่ายังไม่เคยได้รับวัคซีนชนิดนี้มาก่อน

Les også

schedule19.12.2024

→ Innovasjoner i kampen mot hiv i krigsherjede Ukraina

I et land hvor krig og stadige militære angrep er en alvorlig belastning også for helsesystemet, opprettholder Ukraina tilgangen på hivmedisiner og forebyggende hivbehandling, og utvikler også nye metoder for å ivareta landets innbyggere som lever med hiv.

schedule18.12.2024

→ HivNorge søker ny kollega

Motiveres du av arbeid for rettigheter, likeverd og mangfold? Og mot diskriminering og stigma? HivNorge søker en rådgiver i 100% stilling, i en dynamisk og innflytelsesrik organisasjon.