camera_altFoto: Crestock
ไวรัสโคโรนา (Koronavirus) และ โรคติดเชื้อเอชไอวี (HIV)
แผนกที่เป็นผู้รับผิดชอบการรักษาโรคติดเชื้อเอชไอวี (HIV) และ โรคติดเชื้อโคโรนา (Korona) ตามโรงพยาบาลส่วนใหญ่มักเป็นแผนกเดียวกัน ดังนั้นแผนกดังกล่าวในโรงพยาบาลหลายแห่งจึงมีงานค่อนข้างยุ่ง แต่กระนั้น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ทุกท่านสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างมั่นใจว่า พวกท่านจะได้รับการดูแลเอาใจใส่ที่จำเป็น ไม่ว่าจะเป็นการต่ออายุใบสั่งยา หรือการอื่นใดก็ตาม
คลินิกผู้ป่วยนอกโรคติดเชื้อ โรงพยาบาลอุลเล่อโวล (Ullevål) มหาวิทยาลัยแห่งกรุงออสโล (Oslo universitetssykehus) ได้จัดทำแนวทางในการดําเนินงานว่าด้วยการติดตามดูแลผู้ป่วยซึ่งเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ของทางคลินิก โดยทาง HivNorge มีการติดต่อประสานงานกับคลินิกผู้ป่วยนอกอย่างสม่ำเสมอ และได้ทำการเผยแพร่ข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางในการดําเนินงานที่เกี่ยวข้องไว้บนเว็บไซต์ของเรา
ผู้ที่พึ่งได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อเอชไอวี (HIV) และกำลังรอผลตรวจจากโรงพยาบาลอุลเล่อโวล (Ullevål) โดยทั่วไปแล้วจะได้รับการติดตามดูแลรักษาทันทีหลังจากที่ทราบผลตรวจ
คนส่วนใหญ่ที่เป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) และได้รับการรักษาโดยทานยาต้านไวรัสตามใบสั่งแพทย์อย่างสม่ำเสมอ และไม่มีอาการป่วยหรือโรคร้ายแรงชนิดอื่นแทรกซ้อนเพิ่มเติม มักจะเป็นผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรงเพียงพอ หากว่าได้รับเชื้อ โควิด-๑๙ (Covid-๑๙)
มีผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) เพียงส่วนน้อยที่มีค่า CD๔ ต่ำอย่างถาวร และอาจมีการลดลงของระบบภูมิคุ้มกันจนทำให้ในบางครั้งพวกเขารู้สึกว่าตนมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจมากขึ้น ทาง HivNorge ได้รับการสอบถามเข้ามาเป็นจำนวนมากเกี่ยวกับข้อสงสัยที่ว่า ผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ถือว่าเป็นหนึ่งในกลุ่มเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสโคโรนาหรือป่วยหนักหรือไม่นั้น เราได้รับคำชี้แจงจากหัวหน้าแผนกโรคติดเชื้อ อุลเล่อโวล (Ullevål) ดังนี้:
จากข้อมูลณวันที่๑๗มีนาคมพ.ศ. ๒๕๖๓ยังไม่มีการระบุแน่ชัดว่าเชื้อเอชไอวี (HIV) เป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้ป่วยหนักด้วยโรคโควิด–๑๙ (Covid-๑๙) แต่อย่างใด
ทั้งนี้เมื่อวันที่๒๓มีนาคมที่ผ่านมาคณะกรรมการงานบริการด้านสาธารณสุข (Helsedirektoratet) ได้ประกาศปรับปรุงและให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโคโรนาว่ารวมไปถึงกลุ่มบุคคลที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องทั้งนี้เป็นการรวมเอาคนส่วนใหญ่ทั้งที่เป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) และมีค่า CD๔ต่ำถาวรเข้าไปด้วย
บุคคลที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่ถูกกล่าวถึง ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ที่มีโรคร้ายแรงเรื้อรังประจำตัว เช่น โรคหัวใจและโรคระบบหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคปอดเรื้อรัง โรงมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน และกลุ่มผู้ที่สูบบุหรี่ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อโคโรนา
หากท่านเป็นผู้หนึ่งที่มีค่า CD๔ ต่ำ และป่วยด้วยโรคร้ายแรงชนิดอื่น มันสำคัญอย่างยิ่งที่ท่านจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำจากหน่วยงานของรัฐอย่างเคร่งครัดเป็นพิเศษ
นอกจากนี้ขอแนะนำให้ท่านกักเก็บตัวอยู่กับบ้านซึ่งมีสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย และหลีกเลี่ยงการใช้เวลานอกบ้านที่ไม่จำเป็น อาทิเช่น การรวมกลุ่มชุมนุม และการออกไปพบปะผู้คน
ณ ปัจจุบันยังมีปัจจัยอีกหลายอย่างที่ไม่แน่นอน ทางสถาบันสาธารณสุข (Folkehelseinstituttet) จึงได้จัดทำ หน้าเว็ปไซด์ของตนเองเพื่อปรับปรุงข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มที่มีความเสี่ยงเป็นพิเศษให้มีความทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
ทั้งนี้เมื่อวันศุกร์ที่ ๓ เมษายนที่ผ่านมา ทางสมาคมเอดส์สากล (International AIDS Society หรือ IAS)
ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสัมมนาผ่านระบบเว็บไซต์ โดยในโอกาสนี้ทางองค์การอนามัยโลก (World Health Organization World Health Organization หรือ WHO) ได้ร่วมแบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับโรคติดเชื้อเอชไอวี (HIV) และโรคติดเชื้อโคโรนา (Corona)
จนถึงขณะนี้มีจำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) เพียงไม่กี่ราย (จากทั่วโลก) ที่ป่วยเป็นโรคโควิด-๑๙ (Covid-๑๙) ด้วยเหตุนี้ จึงยังไม่มีการทำงานวิจัยเฉพาะเกี่ยวกับการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ร่วมกับการติดเชื้อโควิด-๑๙ (Covid-๑๙) แต่จากประสบการณ์ที่ผ่านมามีข้อบ่งชี้ว่า:
- เชื้อเอชไอวี (HIV) ไม่ได้เป็นปัจจัยเสี่ยงโดยตรงต่ออัตราการเสียชีวิตที่สูงขึ้น หรือนำไปสู่การติดเชื้อโรคร้ายแรงอย่างโควิด-๑๙ (Covid-๑๙) ทั้งนี้ไม่ว่าค่า CD๔ จะอยู่ในระดับใด
- ระดับภูมิคุ้มกันต่ำเป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการได้รับเชื้อ แต่ไม่ได้เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการเจ็บป่วยจากโรคร้ายแรงหรือเสียชีวิต ดังนั้นจึงขอแนะนำให้บุคคลที่มีค่า CD๔ ต่ำกว่า ๒๐๐ ปฏิบัติตามมาตรการด้านสุขอนามัยอย่างเคร่งครัดทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงภาวการณ์ติดเชื้อ
- ถึงแม้ว่าเชื้อเอชไอวี (HIV) จะไม่ได้เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในการเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงอย่างโควิด–๑๙ (Covid-๑๙) แต่ก็มีคนบางส่วนที่ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) มาเป็นระยะเวลานานและต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงอื่นๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้รอดชีวิตจากโรคเอดส์และผู้ที่เคยเป็นโรคซึ่งเกี่ยวกับเอดส์เช่นโรคปอดบวมหรือโรคปอดชนิดอื่นๆ
ประสบการณ์ที่ทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้นำเสนอในการสัมมนานั้นสอดคล้องกับคำแนะนำจากหน่วยงานด้านสุขภาพของนอร์เวย์ที่ได้ให้ไว้ ท่านสามารถติดตามรายละเอียดทั้งหมดในการสัมมนาได้ที่นี่ ทั้งนี้การสัมมนามีเนื้อหาในการบรรยายเป็นภาษาอังกฤษ
ท่านไม่จำเป็นต้องแจ้งให้นายจ้างหรือบุคคลอื่นทราบเกี่ยวกับสถานะการติดเชื้อเอชไอวี (HiV) ของท่านหากในเบื้องต้นท่านสงสัยว่าจะติดเชื้อ และไม่มีความประสงค์จะให้ข้อมูลดังกล่าว
หากท่านรู้สึกตัวว่ามีไข้ หรือมีอาการผิดปกติในระบบทางเดินทายใจ ท่านควรรีบติดต่อแพทย์ประจำตัวเพื่อเข้ารับการตรวจหาการติดเชื้อ สิ่งสำคัญที่พึงระวัง คือ ท่านไม่ควรเข้าพบแพทย์โดยปราศจากการนัดหมายล่วงหน้า ทั้งนี้เพื่อดำรงไว้ซึ่งมาตรการป้องกันการติดเชื้อ ท่านสามารถติดต่อแพทย์ฉุกเฉินนอกเวลาทำการได้ในช่วงเย็นและระหว่างวันหยุดสุดสัปดาห์
การรักษาไวรัสโคโรน่าด้วยยาต้านเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV)
ขณะนี้ได้มีการพยายามทดลองรักษาโรคโควิด-๑๙ (Covid-๑๙) ด้วยยาต้านเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) ซึ่งยาต้านเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) ที่ใช้ในการทดลองดังกล่าวนั้น ไม่ได้เป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ในปัจจุบันแต่อย่างใด ทั้งนี้ทางหน่วยงานสาธารณสุขได้ให้คำรับรองว่า จะไม่ส่งผลกระทบต่อปริมาณยาผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) พึงได้รับเพื่อใช้ในการรักษา
นอกจากนี้ยังไม่มีข้อมูลใดที่ชี้ชัดว่าผู้ที่ติดเชื้อ เอชไอวี (HIV) จะไม่สามารถติดเชื้อ โควิด-๑๙ (Covid-๑๙) ได้หรือจะไม่เป็นพาหะของเชื้อไวรัสเนื่องจากการใช้ยาที่พวกเขาได้รับเพื่อการรักษาโรค
วัคซีนนิวโมคอกคัส (วัคซีนป้องกันปอดอักเสบ)
มีการให้ความสนใจกับวัคซีนนิวโมคอกคัส (วัคซีนป้องกันปอดอักเสบ) ซึ่งทำหน้าที่ป้องกันโรคปอดอักเสบ (ปอดบวม) ที่มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียสายพันธุ์นิวโมคอกคัส วัคซีนดังกล่าวไม่ได้มีความสัมพันธ์ใดเกี่ยวข้องกับเชื้อไวรัสโคโรนา (Korona) แต่กลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้รับการสนับสนุนให้เข้ารับวัคซีนดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระงานทางด้านพยาบาลให้กับหน่วยงานสาธารณสุขในขณะนี้
ผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ทุกท่านที่ได้เข้ารับการตรวจรักษาครั้งแรกยังแผนกโรคติดเชื้อ จะได้รับข้อเสนอเกี่ยวกับการรับวัคซีนนิวโมคอกคัส (วัคซีนป้องกันปอดอักเสบ) ดังกล่าว นั่นก็หมายความว่าทุกท่านได้รับข้อเสนอโดยทั่วหน้ากัน แต่เนื่องจากขณะนี้อยู่ในช่วงขาดแคลนวัคซีน ดังนั้นจึงเสนอการฉีดวัคซีนให้เฉพาะผู้ที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน และผู้ที่อยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่จะป่วยด้วยโรคร้ายแรงเช่น โรคปอดอักเสบ
แผนกโรคติดเชื้อ คลินิกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลอุลเล่อโวล (Ullevål) ได้เสนอให้วัคซีนดังกล่าวกับผู้ป่วยทุกรายที่อายุมากกว่า ๖๕ ปี หากว่ายังไม่เคยได้รับวัคซีนชนิดนี้มาก่อน
Les også
schedule24.11.2024
→ Hva skjer på verdens aidsdag?
Verden markerer i år 1. desember under temaet “min helse, min rettighet”. Temaet setter fokus på tilgangen til behandling og forebygging for alle som er affektert av hiv, uavhengig av hvor man lever og hvem man er. Her er en oversikt over våre arrangementer på verdens aidsdag.
schedule22.11.2024
→ Avduking av blått skilt på tidligere Sulpen
På verdens aidsdag 1. desember avdukes et blått skilt på det som var det første permanente møtestedet her i landet for mennesker som lever med hiv – som populært ble kalt Sulpen.